
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า
งานเดินสายไฟฟ้า ฝังดินโดยตรง งานเดินสายในท่อโลหะ ท่ออโลหะ
ที่มา https://webboard.men.sanook.com/forum/?topic=8845438
ข้อดี – ข้อเสีย การติดตั้งและเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน
ข้อดี
ระบบไฟฟ้าใต้ดินปลอดภัยต่อสาธารณะ
หลายๆ คนได้รับอุบัติเหตุ หรือข่าวที่เกี่ยวข้องกับการชำรุจของสายไฟ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะฉนวนที่หุ้มสายไฟในระบบสายอากาศ (Overhead Line System) ต้องเจอแดดฝนอยู่ตลอดจึงทำให้เสื่อมสภาพได้ง่าย หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุที่ทำให้ชำรุจ เช่น ฟ้าผ่า ลมพายุหรือรถชนเสาไฟฟ้าล้ม รวมถึงการหักโค่นของต้นไม้ทับสายไฟฟ้า เป็นต้น ในขณะที่ระบบสายใต้ดินนั้นถูกจับแยกให้อยู่ในท่อใต้ดินไม่ปะปนกับพื้นที่ใช้งานของผู้พักอาศัย แม้เกิดปัญหาสายชำรุด ก็ไม่ห้อยรุงรังเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย
สายไฟฟ้าใต้ดินมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า
สายไฟระบบสายอากาศนิยมใช้สายหุ้ม PVC ชนิดนี้มีความทนทานต่อดินฟ้าอากาศ ไม่ติดไฟ ทนความร้อน ในขณะที่สายเคเบิลใต้ดิน เป็นสายไฟฟ้าชนิดที่มีฉนวน PVC หุ้มลวดทองแดงอยู่แล้วยังมีฉนวนหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วย จึงมีความคงทนสูงกว่า และการเดินสายไฟใต้ดินร้อยท่ออย่างมิดชิด ไม่เสี่ยงกับปัญหาจากอากาศที่แปรปรวน หรือปัญหาจากสภาพแวดล้อมเช่นกิ่งไม้ สัตว์ทำลายสายไฟ ทำให้การใช้อายุการใช้งานของสายไฟยาวนาน โอกาสเกิด Fault ในระบบหรือสายชำรุดจึงน้อยมาก โดยมีอายุการใช้งานมากกว่าสายอากาศเฉลี่ยกว่า 25 ปีเลย
กระแสไฟใต้ดินมีความเสถียรกว่า
สายส่งของระบบไฟฟ้าใต้ดิน นิยมใช้วัสดุทองแดง ซึ่งถือเป็นวัสดุที่มีค่าความนำไฟฟ้ามากหรือ มีความต้านทานไฟฟ้าน้อย พร้อมฉนวนห่อหุ้มหนาหลายชั้นกว่าจึงช่วยป้องกันสัญญาณกวน ทำให้การส่งกระแสไฟฟ้า หรือสัญญานอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างสะดวกสบาย หลุดน้อย และคลื่นรบกวนสัญญานโทรศัพท์น้อยเช่นกัน
ข้อเสีย
ข้อเสียของการนำสายไฟฟ้า ลงใต้ดิน หลักๆ เลยก็คือราคาแพงกว่าการใช้สายในอากาศถึงสิบเท่าตัว รวมถึงการใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ก็ยาวนานกว่าด้วย และในช่วงการดำเนินงานนั้น อาจมีการกระทบกระเทือนการจราจร ในช่วงที่ดำเนินการอย่างแน่นอน แต่หลังจาก เสร็จงานไปแล้ว ก็จะได้ถนนที่สวยงาม และความมั่นคง ปลอดภัย ทางการใช้ไฟฟ้าเมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว
2.2.2 สายเคเบิลสำหรับการเดินสายใต้ดิน
2.5.5.1 สายเคเบิลบรรจุน้้ามัน (Oil Filled Cable) ใช้กับสายส่งจ่ายระดับแรงดัน 115 KV ถึง 230 KV
2.5.5.2 สายเคเบิลฉนวนหนาพิเศษ ( Cross Linked ) นิยมใช้กับระบบจ้าหน่าย ทั่วไป
2.2.3 รูปแบบในการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน
ท้าได้2วิธี คือวางในท่อร้อยสายและฝังดินโดยตรง
2.5.4.1 แบบวางในท่อร้อยสาย
ท่อใยหิน ( Asbestos Cement Duct ) มีราคาถูก ระบายความร้อนได้ดีแต่
เปราะแตกง่ายการวางสายเคเบิลในท่อนี้เรียกอีกอย่างว่า ดักแบงค์( Duck Bank )ยาวท่อนละ4 เมตร
ท่อโลหะหนา ( Rigid Steel Conduit;RSC )เป็นท่อเหล็กอาบสังกะสี ราคา
แพงกว่าท่อใยหินทนต่อแรงกระแทกและการกัดกร่อน ส่วนใหญ่ใช้น้าสายขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อต่อ
เข้ากับหัวต่อสาย ( Terminator ) บนเสาเรเซอร์( Riser)
ท่อพีวีซี( Poly Vinly Chloride ; PVC ) ท่อพีวีซีจะใช้งานบางช่วงเท่านั้น
เช่นบริเวณที่ต้องโค้งงอ ซึ่งท่อชนิดอื่นท้าได้ยาก
บ่อพักสายคนลง( Manhole )ทุกระยะ100 – 300เมตร เพื่อใช้ต่อสายและลากสาย
บ่อพักสายคนล้วง( HandHole )มีขนาดเล็ก เนื่องจากสายมีจ้านวนน้อย
2.5.4.2 แบบฝังดินโดยตรง การฝังดินโดยตรงสายเคเบิลต้องเป็นชนิดฉนวนหนา
พิเศษ ขุดดินลึกตามมาตรฐานที่ก้าหนด โดยวางสายเคเบิลบนทรายแล้วใช้ทรายกลบอีกชั้น แล้วใช้
แผ่นคอนกรีตทับไว้ แล้วท้าเครื่องหมาย (เทปเตือนอันตราย) ชั้นบนกลบด้วยดินแล้วท้าแนว
เครื่องหมายอย่างชัดเจนส้าหรับการฝังดินในระบบแรงต่้า นิยมใช้สาย NYY หรือสาย XLPE
2.2.4 ข้อต่อสายแรงสูง
ถูกออกแบบอย่างพิถีพิถัน โดยสามารถป้องกันน้้าและ
ความชื้นได้ มีดังนี้
2.5.7.1 แบบ Slip On ข้อต่อแบบนี้จะใช้วิธีการสวมปลอก( Slip )เข้ากับสายเคเบิล
เมื่อต่อเสร็จค่อยเลื่อนปลอกปิดทับรอยต่ออีกที โดยมีซีลด์กันความชื้นอย่างดี
2.5.7.2 แบบ Modular เป็นข้อต่อส้าเร็จรูป มีทั้งต่อตรง ต่อแยก หรือหลายทาง
2.5.7.3 แบบ Tapingข้อต่อแบบนี้ใช้วิธีการพันเทปเพื่อเป็นฉนวนป้องกันความชื้น
เข้าไปภายในจุดต่อ
2.2.5 หัวต่อสายแรงสูง
เป็นอุปกรณ์ใช้ต่อสายเคเบิลที่มาจากใต้ดินเข้ากับสายเคเบิลอากาศแรงสูง หรือ
เรียกว่าหัวเคเบิลโดยลดความเครียดและความหนาแน่นทางไฟฟ้า(Electrical Stress)เพื่อป้องกันการ
ดิสชาร์จ ที่ท้าให้ฉนวนเสียหาย และต่อซีลด์(Shield) ลงดินเพื่อลดอันตรายจากสัมผัส
2.5.8.1 แบบ Porcelain เปลือกนอกท้าจากกระเบื้องเคลือบเป็นครีบหลายชั้น มี
ขนาดใหญ่ และมีน้้าหนักมาก
2.5.8.2 แบบ Slip On เป็นครีบหลายชั้น ขึ้นอยู่กับระดับแรงดันเปลือกนอกท้ามา
จากยางที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนอย่างดี
2.5.8.3 แบบ Heat Shrinkable หัวต่อแบบนี้อาศัยการหดตัวของพลาสติกเมื่อถูก
ความร้อนรัดแน่นกับวัสดุที่อยู่ภายใน และพัฒนาเป็น Hydrophobic คือน้้าไม่เคลือบผิวฉนวน
2.5.8.4 แบบ Modular เป็นชนิดท้าส้าเร็จมาจากโรงงาน เลือกใช้ได้ตามความ
เหมาะสมของระดับแรงดัน