
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ระบบสายดิน
ที่มา https://www.mea.or.th/content/detail/123/310/214
ความสำคัญในการต่อลงดิน
ป้องกันไม่ให้มีผู้ถูกไฟฟ้าดูด กรณีมีกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไหลลงดินทางสายดิน โดยไม่ผ่านร่างกายผู้สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เป็นผลทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และ/หรือไฟฟ้ารั่วจะตัดกระแสไฟฟ้าออกทันที "เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารอาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์หรือชำรุดได้ง่ายหากไม่มีสายดิน"
3.3.2 ประเภทของการต่อลงดิน
การต่อลงดินของระบบไฟฟ้ า
- หมายถึง การต่อส่วนใดส่วนหนึงของระบบไฟฟ้าทีมีกระแสไหลผ่านลงดิน เช่น การต่อจุดนิวทรัล ( Neutral Point ) ลงดิน
การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้ า
- หมายถึง การต่อส่วนทีเป็นโลหะทีไม่มีกระแสไหลผ่านของ อุปกรณ์ต่างๆ ลงดิน
3.3.3 วิธีการเลือกใช้สายดิน
3.3.2.1 สายทองแดงหุ้มฉนวนขนาดระบุอย่างตํ่า 10 ตร.มม.
3.3.2.2แผนเหล็กอาบสังกะสีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่ต่ำกวา 27.4 ตร.มม. และความหนา
ไม่น้อยกวา 3 มม.
3.3.2.3ลวดเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีตีเกลียวขนาดระบุอย่างตํ่า 25 ตร.มม.
3.3.2.4เหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผานศูนย์กลางอย่างตํ่า 6 มม.
3.3.3จุดต่อสําหรับสายต่อหลักดินเข้าลับหลักดิน
3.3.3.1เชื่อมด้วยความร้อน (Exothermic Welding)
3.3.3.2แบบบีบอัด (Compression Type)
3.3.3.5แบบประกบ ( Clamp Type)
3.3.3.4แบบเชื่อมไฟฟ้า (Electric Welding) ใช้ในกรณีสายดินฝังในเสาไฟฟ้าคอนกรีต
และแผนเหล็กอาบสังกะสีต่อกับหลักดิน (พร้อมทา ั Cold Galvanizing หรือ Zinc-Spray ที่จุดเชื่อมด้วย)
3.3.4ความต้านทานการต่อลงดิน
แผงสวิตช์ (หากเป็นโลหะ) และ/หรือส่วนโลหะไฟฟ้าสาธารณะ จะต้องมีการต่อลงดิน และมี
ค่าความต้านทานหลักดินกบดิน
หมายเหตุ ให้หลักดินขนานกบหลักดินเดิม 1.8 ถึง 2.4 เมตร เพิ่มเติมในกรณีที่ไม่สามารถ ทําค่าความต้านทานหลักดินกบดิน
3.3.4 หลักดิน
ระบบหลักดิน ประกอบด้วยหลักดินหลายแบบซึ่งต่อถึงกัน ในสถานประกอบการหนึ่งๆ อาจมีหลักดินแบบเดียวหรือหลายแบบก็ได้ถ้าหลักดินมีหลายแบบจะต้องต่อหลักดินน้ันๆ ให้ ต่อเนื่องถึงกนตลอดเป็นระบบหลักดิน ระบบหลักดินมีหน้าที่ดังนี้ 3.3.1.1 ทำให้เกิดการต่อถึงกันอย่างดีระหว่างดินและส่วนที่เป็นโลหะที่ไม่มีกระแสไหล ผานของสถานประกอบการ เพื่อให้ส่วนโลหะเหล่านี้มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์คือที่ระดับดิน 3-2
3.3.1.2 เพื่อใหเป็นทางผ่านเข้าสู่ดินอยางสะดวกสำหรับอิเล็กตรอนจำนวนมาก ในกรณีที่ เกิดฟ้าผ่าหรือแรงดันเกิน
3.3.1.3 เพื่อถ่ายทอดกระแสรั่วไหล หรือกระแสที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตลงสู่ดิน
3.3.2 ชนิดของหลักดิน อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ หลักดินที่มีอยู่แล้ว และหลักดินที่ทำขึ้น
3.3.2.1 หลักดินที่มีอยู่แล้ว คือ หลักดินที่สถานประกอบการมีอยู่แลวและทำขึ้น เพื่อ จุดประสงค์อย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่เพื่อการต่อลงดิน เช่น โครงโลหะของอาคาร เสาเข็มหลักและ โครงสร้างโลหะใต้ดิน
3.3.2.2 หลักดินที่ทาขึ้น คือ หลักดินที่จดหาและติดตั้งสำหรับงานระบบการต่อลงดิน โดยเฉพาะเช่น แท่งหลักดิน (ground rod) หลักดินที่หุ้มคอนกรีต (concrete enclosed electrode) แผนโลหะ ่ (buried plate) หลักดินแบบวงแหวน (ring) และกริด (grid)
3.3.5 วิธีการต่อสายดิน
จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (จุดต่อลงดินของเส้นศูนย์หรือนิวทรัล) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรกของตู้เมนสวิตช์
ภายในอาคารหลังเดียวกันไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด
สายดินและสายเส้นศูนย์สามารถต่อร่วมกันได้เพียงแห่งเดียวที่จุดต่อลงดินภายในตู้เมนสวิตช์ ห้ามต่อร่วมกันในที่อื่น ๆ อีก เช่น ในแผงสวิตช์ย่อยจะต้องมีขั้วสายดินแยกจากขั้วต่อสายศูนย์ และห้ามต่อถึงกันโดยมีฉนวนคั่นระหว่างขั้วต่อสายเส้นศูนย์กับตัวตู้ซึ่งต่อกับขั้วต่อสายดิน
ตู้เมนสวิตช์สำหรับห้องชุดของอาคารชุดและตู้แผงสวิตช์ประจำชั้นของอาคารชุดให้ถือว่าเป็นแผงสวิตช์ย่อย ห้ามต่อสายเส้นศูนย์ และสายดินร่วมกัน
ไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง แต่ถ้าได้ดำเนินการไปแล้วให้แก้ไขโดยมีการต่อลงดินที่เมนสวิตย์อย่างถูกต้อง แล้วเดินสายดินจากเมนสวิตช์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม
ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด 120/240 V กับระบบไฟ 220 V เพราะพิกัด IC จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง
การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว จะเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เช่น กรณีที่มักจะมีน้ำท่วมขัง หรือกรณีสายดินขาด เป็นต้น และจุดต่อลงดินต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่วเสมอ
ถ้าตู้เมนสวิตช์ไม่มีขั้วต่อสายดินและขั้วต่อสายเส้นศูนย์แยกออกจากกัน เครื่องตัดไฟรั่วจะต่อใช้ได้เฉพาะวงจรย่อยเท่านั้น จะใช้ตัวเดียวป้องกันทั้งระบบไม่ได้
วงจรสายดินที่ถูกต้องในสภาวะปกติจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล
ถ้าเดินสายไฟในท่อโลหะ จะต้องเดินสายดินในท่อโลหะนั้นด้วย
ดวงโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งที่เป็นโลหะควรต่อลงดิน มิฉะนั้นต้องอยู่เกินระยะที่บุคคลทั่วไปสัมผัสไม่ถึง (สูง 2.40 เมตร หรือห่าง 1.50 เมตร ในแนวราบ)
ขนาดและชนิดของอุปกรณ์ระบบสายดิน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง