top of page

งานปักเสา

ที่มา https://www.pstconcrete.com/th/articles/187985
    4.4.1 ข้อกำหนดในการปักเสาไฟฟ้า
การออกแบบและติดตั้งระบบจำหน่าย 22 และ 33 kV ที่เป็นแบบ Overhead Distribution Lines ซึ่งต้องใช้เสาเป็นอุปกรณ์รองรับในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยขนาดเสาตามมาตรฐานที่ใช้นั้นจะมีอยู่ 2 ขนาดด้วยกัน คือเสายาว 12 เมตร และเสายาว 12.20 เมตร โดยในการออกแบบนั้นควรสำรวจพื้นที่ให้ละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแบบก่อสร้างและเลือกขนาดเสาไฟ ในกรณีที่จำเป็นต้องปักเสาก่อสร้างในบริเวณที่เป็นที่ลุ่มดินอ่อน ใกล้ลำคลอง หรือผ่านแอ่งน้ำ ควรเลือกใช้เสายาว 12.20 เมตร เพื่อให้สามารถปักเสาลงไปได้ลึกเพิ่มขึ้น หรืออาจเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงของฐานเสาด้วยการกำหนดให้ใช้เสาตอม่อ(Stub) ต่อกับเสาไฟฟ้าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของจุดปักเสาไฟ

   


4.4.2 วิธีการปักเสาไฟฟ้า
วิธีการปักเสา แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีคือ
1.ใช้เเรงงานคน
2.ใช้รถปักเสา
 
✅การใช้แรงงานคน
-ไม้ขาทราย ใช้พยุงเสาให้ค่อยๆตั้งสูงขึ้น
-ไม้ขาหมุด ใช้คู่กับไม้ขาทราย แต่สั้นกว่าไม้ขาทราย
-ไม้แพน เป็นไม้แผ่น 4 เหลี่ยมกว้างเท่าปากหลุม ใช้สอดในหลุม 
✅การใช้รถปักเสา
วิธีนี้สะดวกรวดเร็ว ใช้เฉพาะรถยนต์เข้าถึงได้
การขุดหลุมปักเสาไฟฟ้า
การขุดหลุมเสา การดำเนินการขุดหลุมปักเสาไฟฟ้า จะต้องมีการสำรวจ พื้นที่และสภาพแวดล้อม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแบบการก่อสร้าง ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง โดยจะต้องอนุรักษ์ธรรมชาติให้มากที่สุด ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรมีความรู้ในการตัดแต่งต้นไม้ไม่ทำให้ต้นไม้โทรมตาย ภายหลังการตัด รวมถึงการปักเสาต้องไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งปลูกสร้าง ข้างเคียง วิธีการขุดหลุมปักเสาไฟฟ้า สามารถแบ่งตามวิธีการปฏิบัติได้ 2 ลักษณะ คือ
-ใช้แรงงานคน การขุดด้วยวิธีธรรมดาโดยใช้ จอบ เสียม ชะแลง พลั่วหนีบ เป็นต้น หรือขุดโดยใช้สว่านมือหมุนให้คมของสว่านปักลงไปใน ดินเพื่อขุดเอาดินออก
-ใช้รถขุดหลุม และสว่านขนาดใหญ่ วิธีนี้สามารถขุด หลุมได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดในเรื่องบริเวณที่จะขุด รถต้องสามารถ เข้าถึงได้
พื้นดินบริเวณปักเสามีความต้านทานสูง เช่น ดิน เหนียว หรือบริเวณภูเขา หินแข็ง บริเวณปักเสาสามารถรับนํ้าหนักเสา อุปกรณ์ และแรงดึงของสายได้ เมื่อปักเสาได้ระดับความลึกที่กำหนด การ เทคอนกรีตที่โคนเสาต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน จึงจะปลดไม้คํ้ายันออกได้

    4.4.3 การวางฐานเสาไฟฟ้าให้มั่นคงแข็งแรง

ในการกำหนดตำแหน่งปักเสานี้ ต้องคำนึงถึงระยะห่างของช่วงเสาให้เป็นไปตามมาตรฐานดังตาราง แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพพื้นที่ ทั้งนี้ช่วงความยาวระยะระหว่างเสาเฉลี่ยต้องไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรฐาน ดังนั้นหากตรวจพบว่าตำแหน่งที่จะปักเสาไม่เหมาะสม อยู่ในหลุมน้ำขัง อยู่ในแนวทางน้ำไหลผ่าน อยู่ในที่ลุ่ม รวมทั้งการกีดขวางทางสัญจร หรืออยู่ใกล้ทางแยกที่มียานพาหนะสัญจรผ่าน ก็ให้พิจารณาหลีกเลี่ยงตำแหน่งปักเสาดังกล่าวได้ตามความเหมาะสม
ขนาดของหลุมตามมาตรฐาน
 
ระยะความลึกของการปักเสา
 


    4.4.4 ระยะระหว่างเสาไฟฟ้าระบบจำหน่ายแรงสูง
เสาไฟฟ้าแรงสูงสร้างขึ้นไว้ เพื่อรองรับการตั้งค้ำสายไฟที่ส่งแรงดันไฟฟ้ามหาศาล การเดินสายไฟและตั้งสายไฟจึงต้องคำนวณระยะห่างเพื่อความปลอดภัย ผู้ที่วางแผนก่อสร้างที่อยู่อาศัยภายในบริเวณพื้นที่ที่ใกล้กับเสาไฟฟ้าแรงสูงจึงควรรู้ระยะห่างเสาไฟฟ้าแรงสูงกับสิ่งปลูกสร้างว่าควรห่างเท่าไหร่ เพื่อจะได้ไม่ละเมิดกฎหมายและความปลอดภัยในสวัสดิภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยและผู้คนรอบข้าง

หากอ้างอิงตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง ระยะห่างของเสาไฟฟ้าแรงสูงกับสิ่งปลูกสร้างควรมีระยะห่างกัน ดังนี้

- เสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีแรงดันไฟฟ้า 12,000-24,000 โวลต์ ควรห่างจากบ้าน/อาคาร/ระเบียง 1.80 เมตร

- เสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีแรงดันไฟฟ้า 69,000 โวลต์ ควรห่างจากบ้าน/อาคาร/ระเบียง 2.13 เมตร

- เสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีแรงดันไฟฟ้า 115,000 โวลต์ ควรห่างจากบ้าน/อาคาร/ระเบียง 2.30 เมตร
 
ทั้งนี้ หากสิ่งปลูกสร้างมีการต่อเติมเพิ่มก็อาจต้องเพิ่มระยะห่างมากขึ้นเพื่อความปลอดภัย ส่วนคนที่จำเป็นต้องออกไปทำงานหรือทำกิจกรรมในพื้นที่เหล่านี้ ก็ควรรักษาระยะห่างจากเสาไฟฟ้าแรงสูงเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักรกล ควรรักษาระยะห่างจากเสาไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่า 3.05-3.90 เมตร
นอกจากนี้ หากอิงตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 ว่าด้วยกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างสิ่งปลูกสร้างหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเขตเดินสายไฟฟ้าแรงสูง ดังนี้

- ห้ามทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายกับระบบไฟฟ้าเข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงอย่างน้อย 4.00 เมตร

- ห้ามเผาซากต่าง ๆ ในแนวเขตเดินสายไฟฟ้า

- ห้ามปลูกสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นภายในเขตเดินสายไฟฟ้า

- ห้ามปลูกต้นไม้หรือพืชผลภายในระยะห่างจากแนวขาเสา 4 เมตร

- ห้ามปรับเปลี่ยนสภาพพื้นดินในพื้นที่เขตเดินสายไฟฟ้าก่อนได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทย

 

    4.4.5 ระยะระหว่างเสาไฟฟ้าระบบจำหน่ายแรงต่ำ

ระยะห่างจากอาคารระยะห่างนี้จะใช้สำหรับเป็นระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้ากับอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว การทำงานใกล้สายไฟฟ้าถึงแม้จะอยู่ในระยะห่างตามที่กำหนดในมาตรฐานแล้วก็ตาม ก็อาจจะเกิดอันตรายได้จากการพลั้งเผลอ หรือเหตุสุดวิสัยในสถานที่ หรือสภาพการทำงานที่มีโอกาสเกิดอันตรายได้ควรป้องกันไว้ก่อน
แรงดันไฟฟ้า (กิโลโวลต์)    ระยะห่างจากอาคาร (เมตร)    ระยะห่างจากป้ายโฆษณา (เมตร)
12 และ 24    1.80    1.80
69    2.13    1.80
115    2.30    2.30

       การหุ้มสายไฟฟ้าชั่วคราวซึ่งสามารถทำได้โดยการติดต่อการไฟฟ้าฯให้ช่วยดำเนินการให้ กรณีที่ไม่สามารถรักษาระยะห่างให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ อาจมีความจำเป็นต้องดับไฟฟ้าย้ายเสาสายไฟฟ้าลักษณะนี้ต้องติดต่อการไฟฟ้าฯเป็นแต่ละกรณีไป ซึ่งการไฟฟ้าฯจะพิจารณาดำเนินการให้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
 

bottom of page